ทำความรู้จักกับ “เหล็กแผ่นดำ” คืออะไร?
ในงานก่อสร้างทุกประเภทการนำเหล็กมาใช้งานคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเหล็กคือส่วนประกอบสำคัญในการเสริมโครงสร้างอาคารให้แข็งแรง ทำให้เหล็กถูกแปรสภาพออกมามากมายเพื่อรองรับการใช้งานที่แตกต่างกันไป ซึ่งตลาดของเหล็กถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ “เหล็กหล่อ” เป็นเหล็กที่เกิดจากการผสมเข้ากับแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ แล้วหล่อขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ มีความแข็งแรงในระดับหนึ่งแต่อาจจะยังไม่ครอบคลุมงานบางประเภท อีกประเภทคือ “เหล็กกล้า” ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นดำ เป็นเหล็กที่มีความยืดหยุ่นสูงไม่เปราะง่าย และด้วยความเหนียวของเหล็กกล้ายังทำให้เกิดการแปรรูปเพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมได้อีก 3 ชนิด ได้แก่ เหล็กเส้นคอนกรีต, ลวดเหล็ก และเหล็กรูปพรรณ เหล็กแผ่นราคาจึงแตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติที่เลือกใช้งาน
ทำความรู้จักเหล็กแผ่นดำ
ทำความรู้จักกับเหล็กแผ่นดำ หนึ่งในเหล็กรูปพรรณอเนกประสงค์ประสงค์จาก CCM COTCO ถือเป็นหนึ่งในเหล็กรูปพรรณที่อยู่ในหมวด “โลหะแผ่น” (Hot Rolled Steel Sheet) ถูกผลิตขึ้นเพื่อความสะดวกในการใช้งาน โดย CCM COTCO จะมาเจาะลึกกันให้เข้าใจว่า “เหล็กแผ่นดำ” มีประโยชน์อย่างไรแหละเหมาะสำหรับงานประเภทใดบ้าง?
เหล็กแผ่นดำเหมาะกันงานประเภทใดบ้าง ?
ลักษณะพื้นฐานของเหล็กแผ่นดำที่ผลิตจากเหล็กกล้าด้วยกระบวนรีดร้อน ทำให้เหมาะกับงานหลากหลายประเภท เช่น งานโครงสร้างอาคารทั่วไปสำหรับปูพื้น เชื่อมต่อขึ้นโครงสร้างรถยนต์ และใช้เป็นชิ้นส่วนต่อเรือได้ ส่วนในงานโครงสร้างอื่น ๆ มักจะนำไปแปรรูปต่อเพื่อเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ อย่างสะพานเหล็กเพื่อตัดแปะโครงสร้าง และสุดท้ายเหล็กแผ่นดำยังเหมาะกับงานขึ้นรูปทั่วไปที่ไม่ได้คุณภาพพื้นผิวเป็นหลักอีกด้วย
เหล็กแผ่นดำโดยทั่วไปมักขึ้นรูปสำเร็จเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผิวเรียบ ขนาดที่นิยมใช้งานมีตั้งแต่ไซซ์ 4”x8”, 5”x10” เป็นต้น ความหนาจะอยู่ราว ๆ 1 - 2.5 มม. เกรดของเหล็กแผ่นดำที่มีจำหน่ายและใช้งานทั่วไปมี 3 เกรดคือ SS400, SS490 และ SPHC
ลักษณะของเหล็กแผ่นดำ
ที่มาของเหล็กแผ่นดำ เกิดจากการนำเหล็กแผ่นหนา รีดที่อุณหภูมิสูงกว่า 1000 องศา ให้ได้ขนาดตามต้องการ จากนั้นจึงนำไปม้วนขึ้นรูป เหล็กแผ่นแบบอื่นๆ ที่คล้ายกับเหล็กแผ่นดำ ในกลุ่มของเหล็กแผ่นที่อยู่ในหมวดของเหล็กรูปพรรณ มีนอกเหนือจากเหล็กแผ่นดำอยู่อีก 2 ชนิดคือ
- เหล็กแผ่นลาย มีลักษณะพื้นผิวลายนูนคล้ายเมล็ดข้าว มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการลื่นจากน้ำขังหรือพื้นที่เปียก นิยมนำไปใช้ปูเป็นทางเดิน ทำพื้นบันได และพื้นรถบรรทุกเพื่อป้องกันการลื่น มีความหนาตั้งแต่ 2-9 มม.
- เหล็กแผ่นแบน หรือเหล็กแบนตัด เป็นเหล็กแผ่นที่มีความหนามากที่สุดตั้ง 3-25 มม. สามารถทนแรงพับได้ค่อนข้างดี นิยมนำไปดัดแปลงเป็นรางน้ำ, แหนบรถ, ฝาท่อ เป็นต้น
เหล็กแผ่นดำที่ดีวัดจากอะไร?
สำหรับเกณฑ์การเลือกซื้อเหล็กแผ่นดำหลัก ๆ ต้องเน้นคือมาตรฐานของเหล็กต้องได้รับการรองรับจาก “JIS G3101/DIN/ASTM” เท่านั้น เพราะเป็นมาตรฐานที่ใช้กันในระดับสากล จากนั้นจึงค่อยพิจารณาจากเกรดที่ร้านนำมาจำหน่ายว่าเลือกเบอร์ไหนเหมาะกับการใช้งานมากที่สุด มี 3 เกรดหลัก ๆ คือ SS400, SPHC และ SS490 ส่วนเรื่องของขนาดควรมีการคำนวณปริมาณที่จำเป็นต้องใช้ล่วงหน้า เพราะเหล็กแผ่นดำจะมีสเปกที่กำหนดไว้ตามมาตรฐาน อีกทั้งยังมีความหนาของแผ่นที่แตกต่างกัน หากไม่มั่นใจว่ารูปแบบงานของคุณจำเป็นต้องใช้มากขนาดไหน สามารถปรึกษากับเราได้โดยตรง