ท่อดับเพลิงเคลือบแดง ASTM
เมื่อพูดถึงอุปกรณ์ดับเพลิง เช่น ระบบสปริงเกอร์และท่อจ่ายน้ำสำหรับถังดับเพลิง การเลือกท่อดับเพลิงเหล็กกล้าที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะท่อไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ช่วยในการลำเลียงสสารที่ต้องมีปริมาตรเหมาะสม เช่น น้ำ ก๊าซ หรือสารดับเพลิงอื่น ๆเท่านั้น ท่อเหล่านี้ยังต้องแข็งแรงพอที่จะทนต่อการกัดกร่อน อุณหภูมิ และความดันสูงด้วย CCM จะมาแนะนำระบบดับเพลิงเบื้องต้นและการเลือกท่อเหล็กที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ระบบดับเพลิงคืออะไร?
ระบบดับเพลิงคือ ระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Protection System) โดยปกติจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ 1.ระบบที่มีไว้ในการเตือนเหตุไฟไหม้ ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับควัน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน เป็นต้น และ 2.ระบบในการระงับเหตุไฟไหม้ในอาคาร เช่น ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงแบบอัตโนมัติ สายฉีดน้ำดับเพลิง ถังดับเพลิง
ตัวอย่างชนิดของระบบดับเพลิง
- ระบบดับเพลิงด้วยน้ำ เป็นระบบป้องกันอัคคีภัยประเภทที่นิยมมากที่สุด และหลายคนคุ้นเคยกับระบบสปริงเกอร์ในอาคารและบ้านโดยทั่วไป
- ระบบแก๊สแรงดันสูง ระบบแก๊สแรงดัน ก๊าซจะถูกเก็บเป็นของเหลวภายใต้แรงดันโดยใช้ไนโตรเจนเหลว เมื่อตรวจพบเพลิงไหม้ ระบบจะปล่อยก๊าซออกมา และมีปฏิกิริยาเคมีกับไฟเพื่อทำการดับไฟ
ความสำคัญของท่อดับเพลิง
ท่อดับเพลิง คือ ท่อเหล็กประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับลำเลียงสารดับเพลิง เช่น น้ำหรือแก๊ส โดยจะทาสีแดงเพื่อแยกชนิดออกจากงานระบบท่ออื่น ๆ ท่อสำหรับงานระบบป้องกันอัคคีภัยส่วนใหญ่จะใช้ท่อเหล็กที่มีขนาดผ่าศูนย์กลางแตกต่างกันไปตามขนาดหรือพื้นที่ที่ติดตั้ง ตัวอย่างเช่น ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 นิ้ว 8 นิ้ว หรือขนาดเล็ก 1 นิ้ว 2 นิ้ว และส่วนใหญ่ท่อจะมีความยาวที่เท่ากันอยู่ที่เส้นละ 6 เมตร
มาตรฐานท่อดับเพลิงที่มีคุณภาพ
มาตรฐานส่วนใหญ่จะต้องผลิตภายใต้มาตรฐาน ASTM International ซึ่งเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานที่เผยแพร่ข้อกำหนดทางเทคนิคสำหรับบริการและวัสดุที่หลากหลาย เดิมเรียกว่า American Society for Testing and Materials พวกเขาพัฒนาและเผยแพร่มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางสำหรับการใช้งานต่างๆ
สำหรับท่อเหล็กกล้าสำหรับงานป้องกันอัคคีภัยมี 3 มาตรฐาน ดังนี้
- ASTM A53 เป็นมาตรฐานที่ต่ำที่สุดสำหรับการใช้ในระบบดับเพลิง ท่อ ASTM A53 มีสามความหนาคือ
- ทั่วไป (Schedule 40)
- แข็งแรงพิเศษ (Schedule 80)
- Double extra strong (Schedule 160)
- ASTM A135 มาตรฐานนี้จะครอบคลุมถึงท่อแบบต้านทานกระแสไฟฟ้า ด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยขึ้น ส่งผลให้ผนังท่อมีความหนาลดลงและลดโอกาสในการถูกกัดกร่อนจากสารเคมี
- ASTM A795 มาตรฐานสุดท้ายนี้ได้ระบุความหนาของท่อไว้ที่ Schedule 10 ซึ่งพัฒนามาจากมาตรฐาน ASTM A53 และASTM A135 แบบมาตรฐานท่อทั่วไป เนื่องจากมีการเล็งเห็นว่าความหนาที่มากกว่า Schedule 10 เป็นการ Over Spec และสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
อย่างไรก็ตามยิ่งมาตรฐานเหล็กที่บางลงต้องมาพร้อมกับมาตรฐานการผลิตที่สูงขึ้นเพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยและมั่นใจได้ว่าระบบดับเพลิงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อดีของท่อดับเพลิงเหล็กกล้า
- ท่อเหล็กมีประวัติการใช้มาอย่างยาวนาน มีกรณีศึกษาด้านความปลอดภัยจำนวนมาก
- ท่อเหล็กมีมาตรฐานรับรองเกี่ยวกับคุณภาพของท่อ ได้แก่ ASTM A53, ASTM A135 และ ASTM A795 ทำให้มั่นใจทุกการเลือกใช้งานว่ามีประสิทธิภาพ
- ท่อเหล็กดำสามารถทนต่อแรงดันและความร้อนได้ดี ท่อเหล็กมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 2,600 ° F ถึง 2,800 ° F ((1,427 ° C และ 1,538 ° C) หมายความว่าในเหตุเพลิงไหม้ ระบบยังสามารถจ่ายน้ำเพื่อระงับเหตุได้อยู่
- ท่อเหล็กเหมาะสำหรับการป้องกันอัคคีภัยทั้งหมด สามารถขึ้นรูป โค้งงอ หรือรูปทรงอื่น ๆได้ง่าย
- ท่อเหล็กสามารถสัมผัสกับแสงแดด (รังสีอัลตราไวโอเลต) เป็นเวลานาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติทางกลหรือต่อประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถทาสีได้อีกด้วย
ระบบดับเพลิงเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันและระงับเหตุในยามที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ และท่อดับเพลิงก็เป็นปัจจัยสำคัญในการนำส่งน้ำ แก๊ส และสารเคมีอื่นๆ เพื่อทำการระงับเหตุ ดังนั้น การเลือกท่อเหล็กที่มีคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณกำลังมองหาท่อเหล็กดำสำหรับระบบดับเพลิง CCM พร้อมให้บริการสำหรับคุณ