ท่อสังกะสี VS ท่อชุบสังกะสี แตกต่างกันอย่างไร ?

วันนี้คอทโก้ของนำเสนอข้อมูลเปรียบเทียบ ระหว่างท่อเหล็กสังกะสี (Pre-Zinc Steel Pipe) และ ท่อเหล็กชุบสังกะสี (Hot Dip Galvanizing Steel Pipe) ซึ่งหากมองแค่ผิวเผิน แทบแยกความแตกต่างกันไม่ออก อย่างไรก็ตาม หากสรุปและจำแนกในรายละเอียดต่างๆ ทั้งด้านวัตถุดิบ วิธีการผลิต ความหนาชั้นเคลือบ มาตรฐานสินค้า คุณลักษณะการใช้งาน ค่า Tensile จุดสังเกตเบื้องต้น รวมไปถึงด้านการตรวจสอบของท่อเหล็ก จะทำให้ท่านเกิดความเข้าใจ และเห็นภาพกว้างมากยิ่งขึ้น

ท่อสังกะสี

  • วัตถุดิบ เหล็กม้วนเคลือบสังกะสี
  • วิธีการผลิต นำเหล็กแผ่นสังกะสีมาขึ้นรูปท่อ และพ่นซิงค์กลบแนวเชื่อมด้านนอก
  • ความหนาชั้นเคลือบ มีการผลิตและซื้อขายในตลาดทั่วไปความหนาของสังกะสีที่เคลือบจะอยู่ที่ระดับ 8.4 - 14 ไมครอน
  • มาตรฐานสินค้า มอก.107 (มาตรฐานเดียวกับท่อดำ)
  • คุณลักษณะและการใช้งาน น้ำหนักเบา ทนการกัดกร่อนได้ระดับพื้นฐาน เหมาะสำหรับงานในร่มหรือพื้นที่ที่การกัดกร่อนไม่สูงมาก ไม่ต้องหาสี ประหยัดเวลา และค่าแรงคนงาน ไม่สมารกเข้าร่วมประมูลงานราชการได้เนื่องจากไม่มีมาตรฐานรองรับ ไม่แนะนำอย่างยิ่งในการนำไปใช่ในงานประปา ไม่เหมาะกับโครงสร้างหนักและมีความนสูง ใช้กับงานโครงเบา โครงเคร่า ทีบาร์ ฝ้า โครงหลังคาบ้าน
  • ค่า Tensile 270 - 300 N/mm2
  • จุดสังเกต ตะเข็บท่อภายในเป็นสีดำ ท่อบางน้ำหนักเบากว่าเมื่อเทียบกับท่อดำหรือท่อชุบสังกะสีที่ใช้งานในลักษณะเดียวกัน

ท่อชุบสังกะสี

  • วัตถุดิบ เหล็กม้วนดำ
  • วิธีการผลิต นำเหล็กแผ่นดำมาขึ้นรูปท่อ และลงบ่อชุบสังกะสี 99.995% ที่อุณหภูมิ 450c
  • ความหนาชั้นเคลือบ 45 - 75 ไมครอน ชั้นความหนาของสังกะสีเคลือบจะเพิ่มขึ้นตามความหนาของเหล็ก (Based Metal)
  • มาตรฐานสินค้า มอก.276 ASTM A53 BS1387 BS1139
  • คุณลักษณะและการใช้งาน ทนการกัดกร่อนได้มาก เหมาะสำหรับงานกลางแจ้งหรือพื้นที่ที่มีการกัดกร่อนสูง เช่น ทะเล ใกล้สารเคมี มีมอก. เหมาะสำหร้บใช้ในงานระบบ งานโครงสร้างที่เน้นปกป้องการกัดกร้อนสูง ใช้ในงานใครงสร้างและงานรับน้ำหนัก รับแรงดันได้ดี อายุการใช้งานยาวนาน 10 - 30 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่การไช้งาน
  • ค่า Tensile 400 - 510 N/mm2 สำหรับ JIS G3101
  • จุดสังเกต ตะเข็บท่อด้านนอก-ใน ชุบสังกะสีสม่ำเสมอ (กรณีท่อปลายเกลียวร่องเกลียวเป็นไปตามมาตรฐาน BS21)