เหล็กชุบซิงค์คืออะไร แตกต่างจากเหล็กกัลวาไนซ์อย่างไร
ในปัจจุบันมีเหล็กให้เลือกใช้งานหลายประเภท โดยประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ เหล็กชุบอย่างเหล็กชุบซิงค์และเหล็กกัลวาไนซ์ ทำให้หลายคนเกิดความสับสนว่า ทั้ง 2 ชนิดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร? บทความนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักเหล็กชุบซิงค์ และเหล็กกัลวาไนซ์ให้มากขึ้น รวมทั้งสรุปความแตกต่างเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกเหล็กให้เหมาะกับการใช้งานมากที่สุด
เหล็กชุบซิงค์คืออะไร?
เหล็กชุบซิงค์ คือเหล็กที่นำไปชุบด้วยสังกะสี หรือซิงค์ (Zinc) โดยการใช้ไฟฟ้าเป็นตัวเหนี่ยวนำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ปกป้องพื้นผิวจากการกัดกร่อนและการสนิม ก่อนจะนำมาขึ้นรูปรีดออกมาเป็นลักษณะของเหล็กรูปพรรณตามความต้องการ
คุณสมบัติของเหล็กชุบซิงค์
- น้ำหนักเบา ที่ใช้งานง่าย
- ผิวมีความมันวาวและเงา
- กันสนิมได้ระดับหนึ่ง
- อายุการใช้งานยาวนาน
ขั้นตอนการทำเหล็กชุบซิงค์
การทำเหล็กชุบซิงค์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
- การเตรียมผิว (Cleaning and Degreasing) ทำความสะอาดคราบต่าง ๆ บนเหล็กกล้า เพื่อเปิดผิวชิ้นงานให้สามารถรับน้ำยาชุบได้ติดสนิทดี
- การชุบซิงค์ (Zinc Plating) จุ่มเหล็กกล้าลงในอ่างอิเล็กโทรไลต์ที่มีสังกะสี กระแสไฟฟ้าจะเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีต่อพื้นผิวของเหล็ก ทำให้เกิดชั้นเคลือบสังกะสีบนผิวโลหะ
- การทำให้เหล็กแห้ง (Drying) เป่าให้แห้งในเครื่องอบความร้อน และเป่าลมแห้งอีกรอบ เพื่อให้เหล็กชุบซิงค์แห้งสนิท
ข้อดีและข้อเสียของเหล็กชุบซิงค์
ข้อดี
- ที่ใช้งานง่าย ขั้นตอนการติดตั้งไม่ยุ่งยาก
- ไม่จำเป็นต้องมีการทาสีกันสนิมทับอีกครั้งเหมือนเหล็กทั่วไป
- สามารถนำมาตัดเชื่อมได้ทันที ช่วยให้งานเสร็จไว ประหยัดเวลา
- ราคาไม่สูง
ข้อเสีย
- เหล็กชุบซิงค์มีชั้นชุบบางกว่าเหล็กกัลวาไนซ์หลายเท่า จึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องเจอความชื้นหนัก ๆ อย่างงานประปา หรือพื้นที่ที่การกัดกร่อนสูง แต่จะนิยมใช้กับงานในร่ม หรือภายในอาคารมากกว่า
การนำไปใช้งาน
เหล็กชุบซิงค์เหมาะสำหรับงานในร่ม หรือพื้นที่ที่การกัดกร่อนไม่สูง รวมทั้งงานโครงสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนัก เช่น โครงเบา โครงหลังคาบ้าน โครงเคร่า ทีบาร์ ฝ้า เป็นต้น
เหล็กกัลวาไนซ์คืออะไร?
กระบวนการชุบเคลือบด้วยสังกะสีโดยวิธีการจุ่มในบ่อสังกะสีหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงประมาณ 435-455 องศาเซลเซียส วิธีการนี้ทำให้เกิดการยึดเกาะระหว่างเนื้อเหล็กและสังกะสีอย่างแน่นหนา ส่งผลให้มีชั้นเคลือบป้องกันสนิมที่หนาตั้งแต่ 45-300 ไมครอนหรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าหรือสเปคของงาน การชุบกัลวาไนซ์ช่วยป้องกันการเกิดสนิมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากสังกะสีจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเนื้อเหล็กและเสียสละตัวเองเมื่อเกิดรอยขีดข่วนหรือการกัดกร่อน ทำให้อายุการใช้งานของเหล็กยาวนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ เหล็กกัลวาไนซ์ยังสามารถนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือ "เหล็กกล่องกัลวาไนซ์" ซึ่งมีข้อได้เปรียบเหนือกว่าเหล็กกล่องธรรมดาอย่างชัดเจน ด้วยชั้นเคลือบที่หนากว่าและการยึดติดที่แน่นหนากว่า ทำให้เหล็กกล่องกัลวาไนซ์มีความทนทานต่อการกัดกร่อนสูงกว่ามาก สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศหลากหลาย โดยไม่ต้องทาสีกันสนิมเพิ่มเติม ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในระยะยาว
คุณสมบัติของเหล็กกัลวาไนซ์
- ป้องกันสนิมสูง ทนทานการกัดกร่อนได้ดี
- รับน้ำหนัก รับความดันได้ดี
- มีความแข็งแรง ทนทาน
- อายุการใช้งานยาวนาน
- สามารถใช้กับโครงการของรัฐบาลได้ มีใบรับรองสำหรับงานราชการโดยเฉพาะ
ขั้นตอนการทำเหล็กกัลวาไนซ์
การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
- การเตรียมผิว (Surface pretreatment) ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยตั้งแต่ กำจัดสิ่งสกปรก ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ กัดด้วยกรด ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ก่อนจะนำเหล็กแช่ในน้ำยาประสานเพื่อปรับความตึงผิวให้พร้อมเคลือบสังกะสี
- การทำให้เหล็กแห้ง (Drying) นำเหล็กที่ผ่านกระบวนการเตรียมผิวมาพักไว้จนให้เหล็กแห้งสนิท
- การชุบเคลือบสังกะสี (Galvanizing) นำเหล็กแช่ในอ่างสังกะสีหลอมเหลว สังกะสีจะเคลือบติดกับเนื้อเหล็กหนาขึ้นตามขนาดของเหล็ก
ข้อดีและข้อเสียของเหล็กกัลวาไนซ์
ข้อดี
- ทนทานต่อการกัดกร่อนทุกสภาพอากาศ
- มีชั้นชุบหนา ทำให้เกิดสนิมได้ยาก
- ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งใช้ภายนอก พื้นที่โล่งแจ้ง พื้นที่ที่มีการกัดกร่อนสูงได้สบาย ๆ
- ไม่ต้องทาสีกันสนิมเพิ่ม ประหยัดค่าสีกันสนิม และประหยัดเวลา
ข้อเสีย
- ด้วยกระบวนการที่ซับซ้อน ทำให้ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเหล็กชนิดอื่น ๆ
การนำไปใช้งาน
เหล็กกัลวาไนซ์เหมาะสำหรับพื้นที่ใกล้ทะเล หรือในโรงงานที่สารเคมี เพราะทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี รวมทั้งใช้กับงานโครงสร้างที่มีน้ำหนัก งานก่อสร้างอุตสาหกรรม งานราชการ งานเดินท่อลำเลียงของเหลว เช่น ท่อประปา ท่อชลประทาน ท่อเดินน้ำมันทางทะเล เป็นต้น
เหล็กชุบซิงค์ VS เหล็กกัลวาไนซ์ ต่างกันอย่างไร?
เหล็กชุบซิงค์ กับเหล็กกัลวาไนซ์ เป็นเหล็กที่ชุบด้วยสังกะสีเหมือนกัน แต่เหล็กชุบซิงค์ ชั้นชุบจะบางกว่า โดยมีความหนาไม่เกิน 20 ไมครอน ในขณะที่เหล็กกัลวาไนซ์จะถูกชุบจนมีหนาตั้งแต่ 45-300 ไมครอนขึ้นไป ทำให้เหล็กชุบซิงค์เหมาะกับการใช้งานภายในอาคาร หรืองานที่ไม่สมบุกสมบัน นอกจากนี้ ในเรื่องของการทนทานสนิม เหล็กกัลวาไนซ์จะมีความทนทานต่อการเกิดสนิมได้ดีกว่าเหล็กชุบซิงค์ อีกทั้งอายุการใช้งานก็ยืนยาวกว่าด้วย
ทั้งเหล็กชุบซิงค์ และเหล็กกัลวาไนซ์ มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันไป หวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกคนไขข้อสงสัยได้ว่า เหล็กชุบซิงค์คืออะไร และแตกต่างกันเหล็กกัลวาไนซ์อย่างไร สำหรับการจะเลือกใช้งานเหล็กประเภทใดนั้น แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้เลือกเหล็กที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานมากที่สุด ลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
สั่งซื้อเหล็กกัลวาไนซ์คุณภาพสูงกับ COTCO METAL WORKS ได้แล้ววันนี้
สำหรับท่านใดที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อท่อเหล็กกัลวาไนซ์ ท่อประปากัลวาไนซ์ ท่อกัลวาไนซ์ตราไจแอนท์ จาก COTCO METAL WORKS สามารถติดต่อผ่านทุกช่องทางของเราได้เลย
-
Line Official (LINE ID) : @cotcometalworks
-
Call Center : 02-285-2700
-
Facebook : Cotco Metal Works
เจ้าหน้าที่ของเราพร้อมให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การสั่งซื้อและจัดส่ง ไม่ทำให้คุณผิดหวังแน่นอน